“หญิงไทยกับฝรั่งตาน้ำข้าว”ทัศนคติที่สังคมไทยส่วนใหญ่มองหญิงไทยที่เดินควง
คนต่างชาติโดยเฉพาะฝรั่งผมทองในแง่เชิงไม่บวกนักเหตุเพราะรูปร่างหน้าตาสเปคสาวไทยแท้ถูกตาต้องใจกับชายชาวต่างชาติเป็นอย่างมากและยิ่งชื่อเสียงเรื่องการขายบริการทางเพศของไทยแล้วทำให้หญิงไทยทั้งหลายที่เดินกับชาวต่างชาติดูจะติดภาพอคตินี้ไปด้วย
โดยปริยายทั้งที่ไม่ใช่ความจริงเสมอไปประกอบกับหญิงไทยส่วนหนึ่งมีค่านิยมที่ว่าต้องการมีสามีต่างชาติเหตุผลเพราะการมีชายชาวต่างชาติมาขอแต่งงานด้วยถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตไม่เพียงแต่ของเธอเท่านั้นแต่ด้วยค่าเงินจากประเทศที่พัฒนาแล้วย่อมบันดาลความสุขสบายจนอาจเป็นการเปลี่ยนชีวิตของครอบครัวและวงศาคณาญาติของเธอเหล่านี้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างมากจึงทำให้มีกระแส
“นิยมมีแฟนหรือสามีต่างชาติ”แต่เงินคงไม่ใช่คำตอบของทั้งหมดข้อมูลที่สามารถอธิบายถึงสิ่งอื่นที่เงินซื้อไม่ได้และเป็นปัจจัยหนึ่งที่หญิงไทยหลงรักและใช้ชีวิตอยู่กับชายชาวต่างชาติโดยที่สังคมไม่เคยทราบมาก่อนซึ่งถูกคลี่คลายจากงานวิจัยของ
ดร.ปณิธี สุขสมบูรณ์
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้เฉลยในเรื่องนี้แล้วภายในงานประชุมเรื่อง
“เพศวิถีศึกษากับเพศวิถีปฏิบัติในสังคมไทยครั้งที่2”จัดโดยศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุขมหาวิทยาลัยมหิดลคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์เครือข่ายความหลากหลายทางเพศและแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ที่ผ่านมา

ดร.ปณิธีอธิบายว่างานวิจัยนี้ได้อธิบายว่านอกเหนือจากแรงจูงใจทางด้านเศรษฐกิจแล้ววิธีคิดและวิถีปฏิบัติเกี่ยวกับเพศภาวะและเพศวิถีที่แตกต่างกันในสองสังคมนั้นยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเอื้ออำนวยหรือจำกัดการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมหรืออาจบอกได้ว่าหญิงไทยอาจตัดสินใจแต่งงานและจงใจย้ายถิ่นเพื่อต่อต้านการกดขี่ทางเพศและหลบเลี่ยงการควบคุมจากครอบครัวของตนที่อาศัยอยู่ในไทยก็เป็นได้อาจารย์ปณิธีได้ใช้วิธีการ
สัมภาษณ์เชิงลึกหญิงไทยอายุ24-57ปีที่แต่งงานกับชายชาวดัชต์ที่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์45คนรวมถึงสัมภาษณ์สามีชาวดัชต์ด้วยเช่นกันนอกจากนี้ยังมีการสังเกตพฤติกรรมต่างๆอย่างมีส่วนร่วมเช่น การไปทำบุญที่วัดไทย,การไปจ่ายตลาดฯลฯ
หญิงไทยในจำนวนนี้มีทั้งที่ยังโสดอยู่และผ่านการแต่งงานมาแล้วพบว่า หลังจากอยู่ในประเทศดังกล่าวผู้หญิง7คนหย่ากับสามีชาวดัชต์และต่อมาทั้งหมดแต่งงานอยู่กินกับคู่สมรสใหม่ในจำนวนนี้13คนจดทะเบียนสมรสส่วน3คนทำเป็นสัญญาการแต่งงานและคนที่เหลือ
ไม่จดทะเบียนสมรสหรือไม่ทำสัญญาการแต่งงานใดๆเลยผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีทั้งภาพรวมทางเพศของหญิงไทยเริ่มจากชายชาวดัชต์มองหญิงไทยว่าเป็นผู้หญิงเอเชียที่คาดหวังว่าจะต้องดูแลเอาใจใส่สามีผิดกับหญิงตะวันตกหรือแม้แต่หญิงดัชต์ที่คิดว่าเป็นหญิง
ตะวันตกที่มองเรื่องสิทธิเท่าเทียมกับเพศชายทำให้ไม่สามารถควบคุมได้เหมือนหญิงไทย
แต่เมื่อหลังจากใช้ชีวิตแต่งงานชายดัชต์กลับได้พบว่าหญิงไทยไม่ได้อ่อนแอ
หรือยอมตามภาพที่คิดไว้กับหญิงเอเชีย แต่ตรงกันข้ามกลับมีความเป็นตัวของตัวเองสามารถ
พึ่งพาตัวเองได้บางคนรู้สึกชื่นชมด้วยซ้ำเพราะหญิงไทยสามารถบริหารกิจการ
และบริหารร้านอาหารไทยในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้นอกจากนี้วิธีคิดเกี่ยวกับ
ความเป็นผู้หญิงที่ดีของชายไทยที่มองว่าหญิงต้องรักนวลสงวนตัวไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับชายใดจนกว่าแต่งงานและเมื่อแต่งแล้วก็ห้ามนอกใจขณะที่ชายไทยเองสามารถแสวงหาประสบการณ์ทางเพศหลังจากแต่งงานได้เป็นครั้งคราวแต่เมื่อเทียบกับสังคมชายดัชต์กลับมองว่าเป็นเรื่องเท่าเทียมดังนั้นจึงสามารถยอมรับหญิงที่ผ่านการแต่งงานมาแล้วได้โดยไม่อคติใดๆหญิงไทยจึงมองว่าการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมเช่นนี้เป็นทางหนึ่งที่จะเริ่มต้นชีวิตคู่อีกครั้งและเป็นการย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศพัฒนาแล้วด้วย

“ที่สำคัญที่พบในงานวิจัยคือสามีชาวไทยเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะมีเพศสัมพันธ์ด้วยโดยที่ภรรยาเป็นฝ่ายตอบสนองเท่านั้นไม่สามารถปฏิเสธซึ่งแตกต่างกับสามีชาวดัชต์ที่เคารพต่อการตัดสินใจของภรรยาอย่างมากหากภรรยาไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์ถือว่าค่อนข้างใส่ใจต่ออารมณ์และความรู้สึกของภรรยา”

ส่วนปัจจัยสุดท้ายที่เป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่คือวิธีคิดเชิงวัฒนธรรมเกี่ยวกับความเป็นชาย
ของสังคมไทยกับสังคมดัชต์ที่แตกต่างกัน

“สังคมไทยผู้ชายสามารถดื่มเหล้ากับเพื่อนชายมีเพศสัมพันธ์กับโสเภณีได้เป็นครั้งคราวการมีเมียน้อยเป็นเรื่องที่สังคมรับได้หากชายคนนั้นยังเลี้ยงดูและส่งเสียภรรยาหลวงและลูกอยู่ขณะที่สังคมดัชต์เน้นความรับผิดชอบต่อครอบครัวผัวเดียวเมียเดียวเน้นการเป็นสามีและพ่อที่ดีต้องควบคุมการใช้จ่ายไม่ให้ไปใช้กับการเที่ยวหรือดื่มกินกับเพื่อนแต่จะใช้เวลากับครอบครัวหลังจากทำงานเสร็จและการมีเซ็กซ์กับหญิงอื่นหลังแต่งงานถือเป็นเรื่องผิดศีลธรรมไม่ซื่อสัตย์กับภรรยา”

หญิงไทยที่ได้ให้ข้อมูลรายหนึ่งบอกว่าแม้ว่าชายไทยที่อยู่ระดับการศึกษาสูงและชนชั้นกลางจะเลี้ยงดูและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัวแต่ชอบเจ้าชู้เที่ยวผู้หญิงมีเมียน้อยทำให้ที่สุดต้องหย่าร้างกันต่างจากสามีชาวดัชต์แม้จะไม่ได้ให้เงินหญิงไทยไว้ใช้จ่ายหรือส่งกลับบ้านที่เมืองไทยเลยแต่ใช้ชีวิตอยู่อย่างประหยัดถือว่าสามีชาวดัชต์มีความรับผิดชอบต่อครอบครัวมากกว่าหลังทำงานก็กลับบ้านไม่เจ้าชู้

ทั้งหมดนี้พอจะทำให้ชายไทยหลายคนหายสงสัยพร้อมกับเข้าใจว่าเงินหรือภาวะเศรษฐกิจหรือชีวิตโก้หรูด้วยการไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศไม่ใช่ปัจจัยที่หญิงไทยอยากโกอินเตอร์แต่กลับเป็นเรื่องวัฒนธรรมความคิดที่ชายไทยมีข้อเสียต่างๆที่หญิงไทยรับไม่ได้ต่างหากอย่างไรแล้วหากปรับปรุงข้อเสียหรือเปลี่ยนแนวคิดดังที่กล่าวมาอย่างน้อยภาษาไทยก็ย่อมทำให้เข้าใจกันได้ดีมากกว่าคนต่างภาษากัน